วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553




ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริกับการแก้ปัญหาสังคม

จากวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการ
อันเชิญพระราชดำรัสปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง นำมาเป็นหลักการ
จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ ฉบับที่ 10 ซึ่ง
เป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน
แก่ประชาชนชาวไทย ให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการ
ดำเนินชีวิต เพื่อเสริมสร้างครอบครัว ชุมชน ให้พึ่งตนเอง เท่าทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมใน ยุคโลกาภิวัตน์
ทั้งนี้ ผู้ที่จะนำปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติจำเป็นต้องมีการศึกษา เพิ่มพูนความรู้ วิชาการ
ตลอดจน ทักษะการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ได้กับสภาพการณ์ปัจจุบัน
อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้าน
สังคม และด้านวัฒนธรรม ดังนั้นปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงมุ่งเน้นให้คนทุกๆ คนเกิดความร่วมมือกันใน
สังคม ครอบครัว ชุมชน และสังคม
แนวทางการวิเคราะห์ได้นำองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน มาวิเคราะห์ร่วมกัน ได้แก่
1. ปัญหาสังคมในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
2. กระแสพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างชุมชนเข้มแข็ง
3. พัฒนาการการแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ในโครงการพระราชดำริ
4. การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ
5. รูปธรรมของชุมชนเข้มแข็ง ที่ใช้หลักการพึ่งตนเอง
ผลการวิเคราะห์
สังคมไทย ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ปรับวิสัยทัศน์เป็น
“สังคมมีความสุขอย่างยั่งยืนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้นำสู่การปฏิบัติได้ใน
ทุกส่วน” เปลี่ยนการวัดความสำเร็จ เป็นเรื่องความสุขของประชาชน เปิดโอกาส
ให้ทุกส่วนเรียนรู้ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ของประเทศและนโยบายของรัฐบาล
เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่ปัจเจกบุคคล องค์กรชุมชน ตำบล
อำเภอ จังหวัด สถาบันต่างๆ ภาคธุรกิจและสังคมโดยรวม
ดังนั้น หลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาการดำรงชีวิต
เปรียบเสมือน การสร้างบ้าน หากบ้านไม่ปักเสาเข็มให้แน่นหนาคงทนมักพังลง
ง่ายๆ ซึ่งคนทั่วไปมักมองไม่เห็นถึงความสำคัญของการสร้างฐานรากนี้ โดยการดำเนินชีวิตต้องการทำอะไรด้วยเหตุผล
ออนไลน์จาก http://www.dld.go.th/region2/edoc_960.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น